กศน.ตำบลบึงบูรพ์
กศน.ตำบลเป๊าะ
คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร
ประวัติศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงบูรพ์ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงบูรพ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2537 ครั้งแรกใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบึงบูรพ์ เดิมชื่อ“ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบึงบูรพ์” ได้รับการประกาศจัดตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยมีผู้บริหารคนแรก คือ นายสุรศักดิ์ สีดาบุตร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2545 ได้แยกจากห้องสมุดประชาชน โดยมาก่อสร้างอาคารสำนักงานอยู่ด้านทิศเหนือ ของที่ว่าการอำเภอบึงบูรพ์ โดยความร่วมมือของส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ใช้พลังมวลชนในการจัดสร้างอาคาร โดยการนำของนางสาวจิราวัลย์ ซาเหลา เป็นผู้บริหาร ในสมัยนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย เรียกพระราชบัญญัตินี้ว่า“พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551” และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2551มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 4 มีนาคมพ.ศ. 2551 วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2551 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรายชื่อสถานศึกษา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2551 เรียกชื่อว่า“ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงบูรพ์ เรียกโดยย่อว่า “กศน.อำเภอบึงบูรพ์”เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2554 เครือข่าย คณะกรรมการสถานศึกษาและบุคลากรได้พิจารณาปรับเปลี่ยน วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และวิเคราะห์ SWOT ร่วมกัน ปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงบูรพ์ มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น จำนวน 11 คน โดยมี นางสาวศรีสุดา สุภี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ มีพนักงานราชการ ครู กศน.ตำบล เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานห้องสมุดประชาชน พนักงานบริการ จัดตั้งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติ ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ.2531ข้อ 6 กระทรวงศึกษาธิการ จึงให้ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงบูรพ์ เป็นสถานศึกษาจัดการศึกษาอย่างกว้างขวางและทั่วถึง อาณาเขตที่ตั้งสถานศึกษา อำเภอบึงบูรพ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทาง 42กิโลเมตร มีพื้นที่ 49.50ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ ติดเขตอำเภอราษีไศล ทิศใต้ ติดเขตอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และอำเภออุทุมพรพิสัย ทิศตะวันออก ติดเขตอำเภอราษีไศล ทิศตะวันตก ติดเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์