[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน

กศน.ตำบลบึงบูรพ์

กศน.ตำบลเป๊าะ

ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก
รับสมัครนักศึกษา


  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ข่าว  VIEW : 353    
โดย ประหยัด

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 40%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 122.154.105.xxx

 
เมื่อ : เสาร์ ที่ 19 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 17:28:17   

ฟอสซิล "ตัวอ่อนไดโนเสาร์" ในไข่ เชื่อมโยงบรรพบุรุษสัตว์ปีก

ปักกิ่ง, 24 ธ.ค. (ซินหัว) — ผลการศึกษาตัวอ่อนจากซากฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์หายากของคณะนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติ มอบหลักฐานเพิ่มเติมที่สนับสนุนแนวคิดสัตว์ปีกยุคใหม่วิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์

ซากฟอสซิลตัวอ่อนดังกล่าวถูกค้นพบในก้อนหินทางตะวันออกของจีนเมื่อราวปี 2000 และเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติหินอิงเหลียงในมณฑลฝูเจี้ยน พร้อมฉายา “ทารกน้อยอิงเหลียง”

สิ่งมีชีวิตยุคดึกดำบรรพ์ขดตัวอยู่ในไข่ใบยาว 17 เซนติเมตร คาดว่ามันมีขนาดยาวจากหัวถึงหางราว 27 เซนติเมตร และเป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอดไร้ฟัน (oviraptorosaur) จากยุคครีเทเชียส อายุ 66-72 ล้านปี

ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารไอไซเอนซ์ (iScience) ฉบับวันพุธ (22 ธ.ค.) เผยว่าท่าทางของตัวอ่อนในไข่บ่งบอกว่าไดโนเสาร์พวกนี้อยู่ในช่วงเตรียมฟักออกจากไข่เหมือนกับสัตว์ปีก

คณะนักวิทยาศาสตร์จากจีน สหราชอาณาจักร และแคนาดา ซึ่งทำการศึกษาซากฟอสซิลนี้ พบว่าท่าทางของ “ทารกน้อยอิงเหลียง” แตกต่างจากตัวอ่อนไดโนเสาร์ที่รู้จักกัน

เจ้าทารกอิงเหลียงนอนขดโดยหัวอยู่ข้างใต้ลำตัว เท้าวางขนาบข้างหัว และหลังโค้งงอตามส่วนปลายทู่ของไข่ ซึ่งเป็นท่าทางที่ที่ไม่เคยพบในไดโนเสาร์มาก่อน แต่กลับคล้ายคลึงกับตัวอ่อนสัตว์ปีกยุคใหม่ อ่านเพิ่มเติม