นักวิจัยค้นพบว่ามลพิษทางอากาศนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้อย่างไร ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่เปลี่ยนความเข้าใจถึงการเกิดขึ้นของเนื้องอก โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่เคยแม้แต่จะสูบบุหรี่เลย
เมื่อเดือน ก.ย. ทีมวิจัยสถาบันฟรานซิส คริก ในกรุงลอนดอน ระบุว่า มลพิษทางอากาศก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้จริง แม้ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ด้วยการกระตุ้นหรือปลุกเซลล์เก่า ๆ ที่เสียหายขึ้นมา มากกว่าการสร้างความเสียหายให้เซลล์ ตามความเชื่อเดิม
หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับโลก คือ ศาสตราจารย์ ชาร์ลส์ สแวนตัน ระบุว่า การค้นพบดังกล่าวทำให้วงการแพทย์ “เข้าสู่ยุคใหม่” และอาจนำไปสู่การพัฒนาตัวยา เพื่อยับยั้งมะเร็งไม่ให้ก่อตัวขึ้น
โดยปกติแล้ว การก่อตัวของมะเร็งจะเกิดเป็นลำดับขั้นตอน คือ เริ่มจากเซลล์ที่แข็งแรง แล้วค่อย ๆ เกิดการกลายพันธุ์ในระดับสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ จนถึงจุดที่กลายเป็นเซลล์ผิดปกติ สู่เซลล์มะเร็ง และเติบโตอย่างควบคุมไม่ได้
แต่แนวคิดการเกิดมะเร็งเช่นนี้ มีปัญหา เพราะการกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อที่แข็งแรง แต่กลับกลายเป็นว่าต้นตอของมะเร็ง รวมถึงมลพิษทางอากาศ ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ แต่เป็นการกระตุ้นเซลล์ที่เสียหายให้กลับมาทำงานอีกครั้งมากกว่า
อ่านต่อ
|