[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
เมนูหลัก
กศน.ตำบล
ตำบลรุ่งระวี
ตำบลคูบ 
ตำบลละเอาะ
ตำบลน้ำเกลี้ยง
ตำบลตองปิด
ตำบลเขิน

 

นโยบาย กศน.ปี 2566

จุดเน้น สกร.ประจำปี 2568

พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 2/เม.ย./2563
ผู้ใช้งานขณะนี้ 5 IP
ขณะนี้
5 คน
สถิติวันนี้
70 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
42 คน
สถิติเดือนนี้
883 คน
สถิติปีนี้
22352 คน
สถิติทั้งหมด
64541 คน
IP ของท่านคือ 18.227.52.147
(Show/hide IP)
  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เจ้าของผลงาน : นางจิตตรา พิกุลทอง
พฤหัสบดี ที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
เข้าชม : 893    จำนวนการดาวน์โหลด : 227 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 3 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

ชื่อเรื่อง                การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R  โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
ชื่อผู้วิจัย               นางจิตตรา  พิกุลทอง
ตำแหน่ง               ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ
โรงเรียน               บรบือวิทยาคาร   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา   เขต  26
ปีการศึกษา           2553


บทคัดย่อ


 การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะสำคัญและจำเป็นต่อนักเรียนมาก  ทั้งนี้เพราะการอ่านทำให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจ  สามารถวิเคราะห์วิจารณ์  และจดจำเรื่องราวได้  ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน    การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ   1)   เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R  โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80   2)  เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี  SQ3R   3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและคะแนนหลังเรียน   การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3Rโดยการใช้ แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2     4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธีSQ3R  โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษปีที่  2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 /2 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต   26   ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา  2553    จำนวน 45  คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  1)  แผนการจัดการเรียนรู้  เรื่อง  การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่  2  จำนวน 7  แผน   แผนละ 2 ชั่วโมง  รวม  14  ชั่วโมง    2)  แบบฝึกทักษะ  การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R  จำนวน  7  เล่ม   3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  เป็นแบบปรนัย   ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก   จำนวน  40  ข้อ    4)   แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  ที่มีต่อการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3Rโดยการใช้แบบฝึกทักษะ   เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า   5  ระดับ   (Rating Scale)    จำนวน  20  ข้อ
 ผลการวิจัย  ปรากฏ  ดังนี้
  1.  ประสิทธิภาพของการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R  โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   มีประสิทธิภาพเท่ากับ   82.65/ 81.28   
  2.  ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี  SQ3R   มีค่าเท่ากับ   0.5489  แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   มีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ  54.89 
  3.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   ที่เรียนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3Rโดยการใช้ แบบฝึกทักษะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 
  4.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2   มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี  SQ3R โดยการใช้แบบฝึกทักษะ  มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ  4.52 อยู่ในระดับมากที่สุด
 โดยสรุป   การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R  โดยการ ใช้แบบฝึกทักษะ  ช่วยทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เป็นอย่างดี  ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้   จึงควรสนับสนุนให้ครูภาษาไทยนำวิธีการสอนอ่านแบบ SQ3R ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการอ่าน จะช่วยให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกทักษะการอ่าน และส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ  ทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ



ดาวน์โหลด   ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โปรแกรม Scratch Desktop 3.0 ที่เรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 1/ก.ย./2564
      การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E รายวิชาคอมพิวเตอร์ เพิ่มเติม เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอ (Microsoft Power Point 2013) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 1/ก.ย./2564
      การพัฒนาทักษะกีฬาวอลเลย์บอลโดยใช้แบบฝึกทักษะวอลเลย์บอล รายวิชา วอลเลย์บอล 1 พ 41201 มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังลิ้นฟ้าวิทยาคม 29/มิ.ย./2554
      การพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบการอ่านวิธี SQ3R โดยการใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 24/ก.พ./2554


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ boynfe81@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป