ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 31 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
|
|
|
|
|
| | |
|
|
|
|
|
|
นวัตกรรมทางการศึกษา |
|
เรื่อง : การประสานงานเครือข่ายที่เป็นเลิศ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19)
เจ้าของผลงาน : นางจันนภา บุดดา
จันทร์ ที่ 13 เดือน กันยายน พ.ศ.2564
เข้าชม : 519 จำนวนการดาวน์โหลด : 156 ครั้ง
|
|
|
บทคัดย่อ :
1. ความเป็นมาและความสำคัญ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ส่งผลกระทบต่อระบบการจัดการเรียนการสอนของไทยในทุกระดับชั้น ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกประกาศและมีมาตรการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสดังกล่าว อาทิ กําหนดให้มี การเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ห้ามการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถาบันการศึกษา ทุกประเภท เพื่อจัดการเรียนการสอน การสอบ ฝึกอบรม หรือการทํากิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมาก การปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพิเศษ การกําหนดให้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ อาทิ การจัดการเรียนรู้ แบบออนไลน์ การจัดการเรียนรู้ผ่านระบบการออกอากาศทางโทรทัศน์ วิทยุ และโซเซียลมีเดีย ต่าง ๆ รวมถึง การสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์
ในส่วนของสํานักงาน กศน. ได้มีการพัฒนา ปรับรูปแบบ กระบวนการ และวิธีการดําเนินงานในภารกิจ ต่อเนื่องต่าง ๆ ในสถานการณ์การใช้ชีวิตประจําวัน และการจัดการเรียนรู้เพื่อรองรับการชีวิตแบบปกติวิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้ให้ความสําคัญกับการดําเนินงานตามมาตรการการป้องกัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อาทิ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกประเภท หากมีความจําเป็นต้องมาพบกลุ่ม หรืออบรมสัมมนา ทางสถานศึกษาต้องมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวด มีเจล แอลกอฮอล์ ล้างมือ ผู้รับบริการต้องใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เน้นการใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีออนไลน์ในการจัดการเรียนการสอนคือจัดการศึกษาให้กับประชาชนผู้ด้อย ผู้พลาด และผู้ขาดโอกาสทางการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาส ทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษา ตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามบริบท สภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายจัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กําหนด และสามารถตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพจัดให้มี กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วมปฏิบัติ กิจกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี กิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดการแข่งขันกีฬา กิจกรรมป้องกันโรคโควิด 19 การเว้นระยะห่าง การใส่หน้ากากอนามัย การบําเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด กิจกรรม จิตอาสา และการจัดตั้งชมรม/ชุมนุม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนํากิจกรรมการบําเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ นอกหลักสูตรมาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้านางจันนภา บุดดา ครู กศน.ตำบลหนองหว้า จึงได้ปรับวิธีการบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ให้เข้ากับสถานการณ์ โดยการประสานงานเครือข่ายในการร่วมมือกันเพื่อจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับนักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองหว้า มุ่งเน้นพัฒนาตามมาตรฐานการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
ดาวน์โหลด ( Fulltext ) ( บทคัดย่อ ) |
|
|
|
|
|
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ tanawoot5@hotmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
| | |
|