[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   

สำนักงาน สกร.จังหวัดศรีสะเกษ SISAKET Provincial Office of Learning Encouragement วิสัยทัศน์องค์กร “สกร.ศรีสะเกษ เพื่อประชาชน ก้าวใหม่ ก้าวแห่งคุณภาพ”  

เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 19 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
รายงานการประชุม

นโยบาย

เว็บไซต์ กศน.อำเภอ

กศน.อำเภอศิลาลาด
กศน.อำเภอเมืองจันทร์
กศน.อำเภอศรีรัตนะ
กศน.อำเภอกันทรลักษ์
กศน.อำเภอโนนคูณ
กศน.อำเภอเบญจลักษ์
กศน.อำเภอบึงบูรพ์
กศน.อำเภอห้วยทับทัน
กศน.อำเภอกันทรารมย์
กศน.อำเภอขุขันธ์
กศน.อำเภอขุนหาญ
กศน.อำเภอเมืองศรีสะเกษ
กศน.อำเภอน้ำเกลี้ยง
กศน.อำเภอพยุห์
กศน.อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
กศน.อำเภอไพรบึง
กศน.อำเภอภูสิงห์
กศน.อำเภอปรางค์กู่
กศน.อำเภอราษีไศล
กศน.อำเภออุทุมพรพิสัย
กศน.อำเภอวังหิน
กศน.อำเภอยางชุมน้อย

เว็บไซต์ ห้องสมุดประชาชน

ห้องสมุดประชาชนอำเภอกันทรลักษ์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอวังหิน
ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี"อำเภอราษีไศล
ห้องสมุดประชาชนอำเภอขุขันธ์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบึงบูรพ์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
ห้องสมุดประชาชนอำเภออุทุมพรพิสัย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอปรางค์กู่
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศรีรัตนะ
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเมืองจันทร์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอน้ำเกลี้ยง
ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี"อำเภอขุนหาญ
ห้องสมุดประชาชนอำเภอไพรบึง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอห้วยทับทัน
ห้องสมุดประชาชนอำเภอยางชุมน้อย
ห้องสมุดประชาชนอำเภอกันทรารมย์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอโนนคูณ
ห้องสมุดประชาชนอำเภอเบญจลักษ์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอภูสิงห์
ห้องสมุดประชาชนอำเภอศิลาลาด
ห้องสมุดประชาชนอำเภอพยุห์
ห้องสมุดประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ

ลิ้งอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กระบวนการจัดทำแผนเชิงกลยุทธ์
โดย ผศ.เจษฎา ความคุ้นเคย

  
ข้อมูล กศน.ศรีสะเกษ  
 

ตราสัญลักษณ์
สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ

 

ปรัชญาหน่วยงาน
“คิดเป็น เน้นพอเพียง”


ค่านิยมองค์กร
“ธรรมาภิบาลยอดเยี่ยม เปรี่ยมคุณธรรม เลิศล้ำความรับผิดชอบ”


วิสัยทัศน์องค์กร
“กศน.ศรีสะเกษ  เพื่อประชาชน ก้าวใหม่ ก้าวแห่งคุณภาพ”

 

ประวัติความเป็นมาของสำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ
       กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การศึกษาผู้ใหญ่ กรมสามัญศึกษา เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๑๙ โดยใช้อาคารสถานที่เก่าของโรงเรียนการช่างสตรีสิริเกศปัจจุบันเป็น ที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่าง เป็นสถานที่ชั่วคราว โดยรวม ๔ หน่วยงาน คือ โรงเรียนฝึกฝนอาชีพเคลื่อนที่ ๑๔ โรงเรียนผู้ใหญ่เคลื่อนที่ ๖๗ หน่วยโสตทัศนศึกษาและห้องสมุดประชาชน ต่อมาภายหลังเปลี่ยน เป็นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกองปฏิบัติการ กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๒๒
       ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้รับเงินจากธนาคารโลกและงบประมาณแผ่นดิน
จำนวน ๖,๘๕๑,๘๒๐ บาท จัดสร้างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนขึ้นบริเวณสนามบินเก่า ทางด้านตะวันออก
ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ถนนวันลูกเสือ ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ในพื้นที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน การก่อสร้างได้แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๒ และได้ย้ายจากที่ทำงานชั่วคราว มาอยู่อาคารใหม่ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๒๔ ได้ทำพิธีเปิดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน โดยมี นายสิปปนนท์ เกตุทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี
      ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จัดตั้งเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ    
      ปี  พ.ศ. ๒๕๕๑ จนถึงปัจจุบัน จัดตั้งเป็นสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดศรีสะเกษ หน่วยงานทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เรียกโดยย่อว่า “สำนักงาน กศน. จังหวัดศรีสะเกษ” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sisaket  Provincial of the Non–formal and Informal Education อันเป็นผลสืบเนื่องจากการมีประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อและอำนาจหน้าที่ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นชื่อดังกล่าว ข้างต้น และมีอำนาจหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภายในจังหวัด รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
๑.จัดทำยุทธศาสตร์เป้าหมาย และแผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย            ในจังหวัด ให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา             ตามอัธยาศัย และความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน
๒. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓. วิเคราะห์ จัดตั้ง จัดสรร เงินงบประมาณให้แก่สถานศึกษาและภาคีเครือข่ายที่จัดการศึกษา           นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๔. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๕. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบตามที่กฎหมายกำหนด
๖. ส่งเสริม สนับสนุนการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์และการเทียบระดับการศึกษา
๗. ส่งเสริม และพัฒนาหลักสูตร สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาร่วมกับสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๘. ระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคลเพื่อการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๙. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑๐. พัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และภาคีเครือข่าย
๑๑. ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานนโยบายพิเศษของรัฐบาลและงานเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
๑๒. กำกับ ดูแล นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษาและภาคีเครือข่าย
๑๓. ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 

ข้อมูลสถานศึกษา แบ่งตามขนาดของสถานศึกษา

สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ มี สถานศึกษาในสังกัด จำนวน ๒๒ แห่ง แบ่งตามขนาดได้ดังนี้     
 

สถานศึกษาขนาดเล็ก แบ่งตามจำนวนตำบล ที่มี ๑–๕ ตำบล มีจำนวน ๗ แห่ง ได้แก่
  ๑) กศน.อำเภอบึงบูรพ์    จำนวน  ๒  ตำบล
  ๒) กศน.อำเภอเมืองจันทร์   จำนวน  ๓  ตำบล
  ๓) กศน.อำเภอศิลาลาด    จำนวน  ๔  ตำบล
  ๔) กศน.อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  จำนวน  ๕  ตำบล
  ๕) กศน.อำเภอพยุห์     จำนวน  ๕  ตำบล
  ๖) กศน.อำเภอเบญจลักษ์   จำนวน  ๕  ตำบล
  ๗) กศน.อำเภอโนนคูณ    จำนวน  ๕  ตำบล

 

สถานศึกษาขนาดกลาง แบ่งตามจำนวนตำบล ที่มี ๖-๑๐ ตำบล  มีจำนวน ๗ แห่ง ได้แก่
  ๑) กศน.อำเภอน้ำเกลี้ยง   จำนวน  ๖  ตำบล
  ๒) กศน.อำเภอห้วยทับทัน   จำนวน  ๖  ตำบล
  ๓) กศน.อำเภอไพรบึง    จำนวน  ๖  ตำบล
  ๔) กศน.อำเภอยางชุมน้อย   จำนวน  ๗  ตำบล
  ๕) กศน.อำเภอภูสิงห์       จำนวน  ๗  ตำบล
  ๖) กศน.อำเภอศรีรัตนะ    จำนวน  ๗  ตำบล
  ๗) กศน.อำเภอวังหิน    จำนวน  ๘  ตำบล

 

สถานศึกษาขนาดใหญ่ แบ่งตามจำนวนตำบล ที่มี ๑๑ ตำบลขึ้นไป มีจำนวน ๘ แห่ง ได้แก่
  ๑) กศน.อำเภอปรางค์กู่    จำนวน  ๑๐  ตำบล
  ๒) กศน.อำเภอขุนหาญ    จำนวน  ๑๒  ตำบล
  ๓) กศน.อำเภอราษีไศล    จำนวน  ๑๓  ตำบล
  ๔) กศน.อำเภอกันทรารมย์   จำนวน  ๑๖  ตำบล
  ๕) กศน.อำเภอเมืองศรีสะเกษ  จำนวน  ๑๘  ตำบล
  ๖) กศน.อำเภออุทุมพรพิสัย  จำนวน  ๑๙  ตำบล
  ๗) กศน.อำเภอกันทรลักษ์   จำนวน  ๒๐  ตำบล
  ๘) กศน.อำเภอขุขันธ์    จำนวน  ๒๒  ตำบล

 

ข้อมูลห้องสมุดประชาชน
สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ มีห้องสมุดในสังกัด จำนวน ๒๔ แห่ง ดังนี้
๑  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ (ตั้งอยู่ที่ กศน.อำเภอเมืองศรีสะเกษ) จำนวน  ๑  แห่ง
๒  ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี (ตั้งอยู่ที่ อำเภอขุนหาญและอำเภอราษีไศล) จำนวน  ๒  แห่ง
๓  ห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชาวตลาด กศน.อำเภอเมืองศรีสะเกษ จำนวน ๑ แห่ง
๔ ห้องสมุดประชาชนอำเภอ จำนวน ๒๐ แห่ง